ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแส คือ การไหลของอิเล็กตรอนภายใน ตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่น ไหลจาก แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่ง ที่ต้องการใช้กระ แสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิด แสงสว่าง เมื่อกระแส ไฟฟ้าไหลผ่านลวด ความต้านทานสูงจะก่อให้ เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความร้อน เช่นนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น
แบ่งเป็น 2 ประเภท
-ไฟฟ้ากระแสตรง Direct Current
-ไฟฟ้ากระแสสลับ Alternating Current
ความต้านทาน
กฎของโอห์มกล่าวว่า “เมื่ออุณหภูมิคงที่ ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านโลหะตัวนำหนึ่งจะมีค่าแปรผันตรงกับความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายทั้งสองของตัวนำนั้น โดยอัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าย่อมมีค่าคงที่ เรียกว่า ความต้านทาน”
ความต้านทาน (Resistance ; R) มีหน่วยเป็น โวลต์ต่อแอมแปร์ หรือ โอห์ม
ตัวต้านทาน (resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปรับความต้านทานให้กับวงจร เพื่อช่วยปรับให้กระแสไฟฟ้าหรือความต่างศักย์ไฟฟ้าพอเหมาะกับวงจรนั้นๆ ชนิดของตัวต้านทาน แบ่งออกได้ 2 ชนิด
ตัวต้านทานค่าคงตัว (fixed resistor) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าตัวต้านทานคงตัว พบในวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
ตัวต้านทานแปรค่า (variable resistor) เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้
ความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ ความแตกต่างของพลังงานไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุด ซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นโดยกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีระดับพลัง งานไฟฟ้าสูง (ศักย์ไฟฟ้าสูง) ไปยังจุดที่มีระดับพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า (ศักย์ไฟฟ้าต่ำ) และจะหยุดไหลเมื่อศักย์ไฟฟ้าทั้งสองจุดเท่ากัน
วงจรไฟฟ้ากระแสตรง
วงจรอนุกรม คือ วงจรที่ประกอบด้วยความต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปต่อเรียงกัน โดยมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานนั้น ๆ เพียงเส้นเดียว
วงจรขนาน คือ วงจรที่มีองค์ประกอบวงจรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยปลายทั้งสองข้างต่อคร่อมรวมกันที่ขั้วของแหล่งจ่าย
วงจรผสม คือ วงจรที่ประกอบไปด้วยคุณลักษณะของวงจรอนุกรม และคุณลักษณะของวงจรขนานรวมอยู่ในวงจรเดียวกัน ซึ่งวงจรในลักษณะนี้จะมีอยู่มากมายในวงจรที่ใช้งานจริง และในการแก้ปัญหาในวงจรผสมนี้ จะต้องใช้คุณสมบัติของวงจรอนุกรมแก้ปัญหาในวงจรย่อยที่มีลักษณะอนุกรม และใช้คุณสมบัติของวงจรขนานแก้ปัญหาวงจรย่อยที่มีลักษณะขนาน แล้วจึงนํามาหาผลรวมผลรวมสุดท้าย จึงจะได้ผลของวงจรรวมที่เรียกว่า วงจรผสม
วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า คือ วงจรที่มีการต่อแบบอนุกรม ซึ่งสามารถแบ่งแรงดันไฟฟ้าได้หลาย ๆ ค่าจากแหล่งกําเนิดเดียวกัน ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานที่ต่อในวงจรนั้น ๆ
วงจรแบ่งกระแสไฟฟ้า คือ วงจรขนานนั่นเอง จากวงจรจะเห็นว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรขนาน กระแสจะถูกแบ่งให้ไหลแยกไปในสาขาต่าง ๆ ของวงจร ค่าของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในแต่ละสาขาจะขึ้นอยุ่กับค่าความต้านทานที่ต่ออยู่ในสาขานั้นๆ
สิ่งที่ควรทราบ
1.ถ้าประจุบวก เคลื่อนที่จากศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังศักย์ไฟฟ้าต่ำ จะเกิดพลังงานออกมา
2.ถ้าประจุลบ เคลื่อนที่จากศักย์ไฟฟ้าต่ำไปศักย์ไฟฟ้าสูง จะเกิดพลังงานออกมา
3.ถ้าประจุบวก เคลื่อนที่จากศักย์ไฟฟ้าต่ำไปศักย์ไฟฟ้าสูงจะเสียงาน (งานที่เสียไปสะสมในรูปพลังงานศักย์ ซึ่งจะปล่อยออกมาเป็นพลังงานภายหลัง)
4.ถ้าประจุลบ เคลื่อนที่จากศักย์ไฟฟ้าสูงไปศักย์ไฟฟ้าต่ำ จะเสียงาน
กำลังไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปใน 1 หน่วยเวลา
กำลัง = งาน/เวลา
P = W/t หน่วยของกำลัง = จูล/วินาที หรือวัตต์
กำลังไฟฟ้า = พลังงานไฟฟ้า/เวลา
เครื่องหมายบนเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องหมายบนเครื่องใช้ไฟฟ้ามักจะบอกค่าความต่างศักย์ที่ใช้(V) และกำลังที่เกิดขึ้นเป็นวัตต์ (W) แต่บางชนิดก็กำหนดค่าความต่างศักย์ (V) กับกระแสที่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นแอมแปร์ (A) เช่น
เตารีด 110 V 750 W หมายความว่าเตารีดจะเกิดกำลังไฟฟ้า 750 วัตต์ เมื่อใช้กับไฟฟ้าความต่างศักย์ 110 โวลต์ และควรใช้กับไฟความต่างศักย์ 110 โวลต์เท่านั้น ถ้าใช้กับความต่างศักย์ 220 V เตารีดจะไหม้และเกิดอันตราย แต่ถ้าใช้กับความต่างศักย์ต่ำกว่า 110 V จะเกิดกำลังน้อยกว่า 750 W ทำให้เกิดความร้อนน้อยลง
เตารีดไฟฟ้า 220 V 3 A หมายความว่า เมื่อใช้เตารีดไฟฟ้ากับความต่างศักย์ไฟฟ้า 220 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าผ่าน 3 แอมแปร์ หรือเกิดกำลังไฟฟ้า เท่ากับ 220 x3 = 660 วัตต์
การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น หลอดไฟฟ้า เตารีด พัดลม จะต่อวงจรกันแบบขนานทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากต้องการให้เครื่องมือเหล่านั้นรับความต่างศักย์เท่ากัน และเท่ากับที่กำหนดไว้บนเครื่องหมายจึงจะเกิดกำลังตามที่กำหนด และถ้าเครื่องมือใดชำรุดเสียหาย เช่น หลอดไฟฟ้าขาดก็จะดับเฉพาะดวงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับดวงอื่น
การคำนวณหากระแสและความต้านทานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
จากจำนวนวัตต์ (W) หรือ กำลังไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า (V) ที่กำหนดไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้าเราอาจคำนวณหา I ที่ไหลผ่าน และ R ของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้ดังนี้
จาก P = IV
ดังนั้น I = P/V
แต่ต้องไม่ลืมว่าค่า กระแสไฟฟ้าที่คำนวณได้นี้จะเป็นค่ากระแสไฟฟ้าเมื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามความต่างศักย์ที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น หลอดไฟฟ้า 220 V 100 W มีกระแสไหลผ่านหลอด เท่ากับ 100/220 = 0.45 แอมแปร์ เมื่อใช้กับความต่างศักย์ไฟฟ้า 220 V ถ้าเปลี่ยนความต่างศักย์เป็น 110 V กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะลดน้อยลงซึ่งอาจคำนวณได้โดยใช้กฎของโอห์ม แต่ต้องคำนวณหา R ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียก่อน เพราะ R ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นค่าคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง คำนวณได้จากสมการ
R = V2 /P
เช่น เตาไฟฟ้า 100 V 1000 W จะมีความต้านทาน R = V2 /P = (110)2/1000 = 12.1 1 โอห์ม ความต้านทานอันนี้ ถือว่าเป็นความต้านทานประจำตัวของเตาไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากความร้อนในขดลวด ในการคำนวณเราถือว่า R เป็นค่าคงที่ตลอดเวลา
สรุปหลักการคิดกำลังไฟฟ้า
ถ้าเดิมหลอดไฟทุกหลอดมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน เมื่อต่อกันแบบขนาน และต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้าเดิม
Iรวม = I1 + I2 + I3+…
Pรวม/V = P1/V + P2/V+ P3/V+…
ดังนั้น Pรวม = P1 + P2 + P3 +… ถ้า V เท่ากัน
ถ้าเดิมทุกหลอดมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน เมื่อต่ออนุกรมกันแล้ว ต่อความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่าเดิม
หา R แต่ละหลอดก่อน เพราะ R คงที่เสมอ
R1 =V2/P1
R2 =V2/P2
R3 =V2/P3
ดังนั้น Rรวม = R1 + R2 + R3+…
V2/Pรวม = V2/P1 + V2/P2 + V2/P3 +…
ดังนั้น 1/Pรวม = 1/P1+1/P2+1/P3+… เมื่อ V เท่ากัน
แต่ถ้าหลอดไฟแต่ละหลอดใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าไม่เท่ากัน หรือพ่วงแล้วไม่ต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้าเดิมจะต้องหา R ก่อน
R = V2/P (แต่ละตัว)
แล้วหา I จาก V = IRรวม
เมื่อทราบ I แล้ว นำมาหา P ใหม่ได้จากสมการ
P = I2R (แต่ละตัว)
ตัวอย่างที่ 1 หลอดไฟฟ้าขนาด 10 วัตต์ 20 โวลต์ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
เมื่อต่อหลอดไฟกับความต่างศักย์ 20 โวลต์ จะได้กำลังสูงสุด 10 วัตต์
เมื่อต่อหลอดไฟกับความต่างศักย์น้อยกว่า 20 โวลต์ กำลังสูงสุดที่ได้จะน้อยกว่า 10 วัตต์
เมื่อต่อกับหลอดไฟกับความต่างศักย์มากกว่า 20 โวลต์ ไส้หลอดไฟจะขาด
ถูกทุกข้อ
เฉลย คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ 4 คือ ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
การเชื่อมต่อแบบอนุกรมและขนานของแบตเตอรี่
เมื่อใช้งานแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบอิสระมักพบสถานการณ์เมื่อจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่างพร้อมกันในวิธีที่แน่นอน เรื่องนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของกระแสไฟฟ้าในวงจรที่มีแหล่งจ่ายไฟหลายตัว บทความนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างของวิธีการต่าง ๆ ของการเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับแบตเตอรี่แบบรวม
ทำไมต้องต่อแบตเตอรี่
อุปกรณ์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองบางตัวต้องการค่ากระแสและแรงดันที่ยากต่อการจัดหาให้กับแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบกัลวานิกที่มีอยู่ ตามกฎแล้วนี่คือความต้องการกระแสไฟขาออกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของแรงดันไฟฟ้าหรือความจุ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องสร้างการกำหนดค่าต่างๆของการเชื่อมต่อแหล่งที่มาปัจจุบันซึ่งแต่ละแห่งมีลักษณะของตนเอง
ตัวเลือกการเชื่อมต่อแบตเตอรี่
มีแผนภาพเชื่อมต่อแบตเตอรี่สามแอสเซมบลีที่มีพารามิเตอร์ที่ต้องการ
Serial - แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดถูกเพิ่มเข้าไป
Parallel - ความสามารถในการพัฒนา
รวมอนุกรมขนาน - เพื่อเพิ่มความจุและแรงดันไฟฟ้า
ทั้งหมดมีคุณสมบัติบางอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้เพื่อความปลอดภัยและการใช้งานแบตเตอรี่และอุปกรณ์ที่ใช้งานในระยะยาว ข้อกำหนดหลักสำหรับวิธีการเปลี่ยนทั้งหมดคือการแยกการใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตโดยเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในการประกอบ (ตัวอย่างเช่น Li-ion และ Ni-Mh ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ในเวลาเดียวกัน)
เนื้อหาเรื่องแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ เป็นเนื้อหาที่พูดถึงเรื่อง แบตเตอรี่ ซึ่งถ้าถือเป็นเรื่องหนึ่งที่เราได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และได้เห็นอยู่ในทุกๆวันไม่ว่าจะเป็น ในรถยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ หรือการใช้ Solar cell ซึ่งในบางรูปแบบจำเป็นต้องมีการต่อ แบตเตอรี่ ในการสะสมพลังงาน แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงแค่ แบตเตอรี่ ม.5 ในวิชาฟิสิกส์เพื่อศึกษาเพื่อฐานและทฤษฎีเพียงเท่านั้น เราไปดูกันเลยดีกว่า
นิยามความหมาย ตัวแปร ต่างๆ
แรงเคลื่อนไฟฟ้า (E) คือ พลังงานที่ถูกถ่ายโอนในแหล่งกำเนิด
ความต่างศักย์ไฟฟ้า (V) คือ พลังงานของประจุที่เคลื่อนอยู่ในวงจรไฟฟ้า
โดยหาได้จากสมการ
I = E/(R+r)
และ
V=E-Ir
การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม
การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม จะมีสมบัติดังนี้
∑E=E1+E2+E3
∑r=r1+r2+r3
การต่อแบตเตอรี่แบบอนุขนาน
การต่อแบตเตอรี่แบบขนาน จะมีสมบัติดังนี้
∑E=E
∑r=r/n
การต่อแบตเตอรี่แบบผสม
การต่อแบตเตอรี่แบบผสม คือการต่อแบตเตอรี่ ที่มีทั้งแบบอนุกรมและขนานพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ยาก ต้องระวังในการทำ
I = E/((R/x)+(r/y))
เมื่อ x คือ จำนวนแบตเตอรี่
y คือ จำนวนของแถวที่ถูกนำมาขนานกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น